ICT Literacy and 21st Century skills
ICT คือ การใช้ computer Software และอุปกรณ์ร่วมใน การทำงานเพื่อประมวลผลข้อมูล จัดเก็บอย่างเป็นระบบ สืบค้นสารสนเทศ รวมถึงการใช้เครือข่ายและเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการสื่อสารความเร็วสูง เพื่อรับส่ง สารสนเทศด้วยความสะดวก รวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ใน วงการต่าง ๆ
- ICT ในฐานะเป็นวิชา(Subject) หมายถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับ ICTโดยตรง
- ICT ในฐานะเป็นเครื่องมือ(tools) หมายถึงการใช้ ICT เพื่อให้ครูใช้ สอนและผู้เรียนใช้เรียน
- ICT ในฐานะเป็นเครื่องมือช่วย หมายถึงการใช้ ICT เป็นเครื่องมือ ช่วยในการทำงาน เช่นการรวบรวมเอกสาร เตรียมการสอน การวิจัย การใช้งานลักษณะนี้จะเป็นอิสระจากวิชาเรียน
- ICT ในฐานะเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการ หมายถึงการใช้ ICTในการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
จุดหมายการใช้ ICTในการเรียนการสอน
ด้านผู้เรียน
- การรู้เทคโนโลยี และรู้สารสนเทศ ในระดับพื้นฐานเพื่อสามารถเข้าถึงและสามารถใช้ ICTเพื่อการค้นคว้า รวบรวมและประมวลผลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
- บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีและทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาและการทางานเป็นทีม
- กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณค่า ทัศนคติ และจริยธรรมในเชิงบวก
- ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าถึง ใช้ และเรียนรู้ทักษะไอซีทีในการศึกษา
- ต้องให้ผู้เรียนมีโอกาสในการใช้และพัฒนาความรู้ไอซีทีในทุกสาขาวิชา และเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านไอซีทีให้มากขึ้น
- กระบวนการเรียนการสอนต้องไม่จัดเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น ผู้เรียนควรมีโอกาสสัมผัสโลกภายนอกผ่านเครือข่ายไอซีที
- จัดหาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อย่างพอเพียงและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้ไอซีทีตามความต้องการแต่ละคน
-นักเรียนทุกคนที่จบการศึกษาชั้น ม.3และม.6สามารถใช้โปรแกรมประมวลคาและตารางคานวณได้ และนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5สามารถเขียนโปรแกรมได้
-นักเรียนทุกคนในโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 1,100คนขึ้นไป ใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลได้
ด้านผู้สอน
ผู้สอนควรมีความรู้และทักษะไอซีทีในระดับสูง รวมถึงเข้าใจในพัฒนาการของการใช้สื่อเทคโนโลยีการเรียนการสอนโดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
- คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือหลักสำคัญสาหรับผู้สอนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรการเรียน การเตรียมแผนการสอน ให้การบ้าน และติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง
- ผู้สอนควรได้รับการอบรมในการใช้ไอซีทีและสามารถบูรณาการไอซีทีในกิจกรรมการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์
- ผู้สอนควรติดตามการพัฒนาและความก้าวหน้าของไอซีทีเพื่อนามาใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน
- ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ใช้คอมพิวเตอร์เป็น และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ และต้องมีวิชาสอนด้วยการบูรณาการไอซีที
หลักการและแนวคิด
กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึง (Access) การจัดการ (Manage) การบูรณาการ (Intergrate) การประเมินผล (Evaluate) และการสร้างสารสนเทศ (Create Information) ตลอดจน ความสามารถในการ ประยุกต์ใช้และถ่ายทอดสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจาเป็นต้องอาศัยทักษะ การคิดทุกทักษะตลอดทั้งกระบวนการ จึงจะทำให้ผู้เรียนเป็น “"การรู้เท่าทันไอซีที (ICT Literacy) ”
การใช้ ICT กับการเรียนการสอน
1. เป็นวิถีทางการแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง
2. ผู้เรียนเป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการเรียนรู้นั้นด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนการสอนนั้นได้โดยที่ครู เป็นผู้ดูแลอยู่ห่างๆ
4. เป็นการสร้างลักษณะนิสัยให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ซึ่งตรงกับ พ.ร.บ. 2542 ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รู้จักแสวงหาความรู้ให้สอดคล้องกับ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
“ครู”มีบทบาทเป็นผู้ให้แนวทาง เป็นพี่เลี้ยงผู้อานวย ความสะดวก
“ผู้เรียน”มีการพัฒนาจากการเป็นผู้ใช้ สู่การเป็นผู้ผลิตผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ ICT ในการค้นหา เรียนรู้ จัดทา นาเสนอ สะท้อนข้อคิดเห็น
(21st Century Skills)
ความสำคัญ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ปัจจุบันเป็นยุคที่โลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อันสืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ของทุกภูมิภาคของโลกเข้าด้วยกัน กระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ดังกล่าว
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
ทักษะด้านสารสนเทศ
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต
แหล่งที่มา : บุญเลี้ยง ทุมทอง. 2556. ทฤษฏีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ.
สุวิทย์ มูลคำและคณะ. 2554. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพฯ: อี เค บุ๊คส์.