Massive Open Online Course (MOOCs)



    Massive Open Online Course (MOOCs)

    คำว่า อีเลิร์นนิง นั้นเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงการการศึกษา ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ ทางออนไลน์และอุปกรณ์โมบายต่างๆ ได้โดยสะดวก เทคโนโลยีไอซีทีก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้งก็ทำให้เทคโนโลยีด้านอีเลิร์นนิงมีการพัฒนารูปแบบและช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว และเทคโนโลยีด้านการศึกษาที่กำลังถูกกล่าวขวัญถึงในปัจจุบันกันอย่างมากก็คือ “MOOC” (อ่านว่า “มู้ก”)

ความหมายของ Massive Open Online Course
               Massive ผู้เรียนลงทะเบียนได้มากกว่า 10,000คน
               Open ไม่เสียค่าใช้จ่าย ใครๆก็ลงทะเบียนเรียนได้
               Online เรียนออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
               Course เปิดสอนได้ตลอดตามเวลาที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอรับประกาศนียบัตรผล การเรียน
           Moocs ย่อมาจาก Massive Open Online Course หมายถึง การเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แบบเปิดเสรีที่ไม่ว่าใครก็ตามจากซีกไหนในโลกสามารถสมัครเข้าเรียนได้ไม่จำกัดจำนวน โดยเฉพาะการศึกษาระดับสูงที่ในระบบการศึกษาเดิมนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะคนจำนวนน้อยเท่านั้น
  นี่คือโอกาสทางการศึกษาที่เปิดกว้าง สำหรับมวลชนทั้งโลกจริง ๆ แม้จะจำกัดเฉพาะสำหรับคนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เท่านั้นก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าในอดีตที่ผ่านมา เราไม่เคยมีระบบการศึกษาแบบขนานใหญ่และเปิดเสรีมากขนาดนี้มาก่อนแม้จะมีสิ่งที่เรียกกันว่าการศึกษาทางไกลแต่เมื่อเทียบกับ Moocs แล้วยังห่างไกลกันมาก


ข้อจำกัด  ที่จะเป็นอุปสรรคของผู้เรียนผ่าน Moocs ก็คือ ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเท่านั้น


องค์ประกอบของรายวิชา MOOC
                 เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยต้องมี
                     1. วิดีโอแบบสั้นๆหลายๆชุด เช่น
                              1) การพูดให้ข้อมูล
                              2) การยกตัวอย่างงาน
                              3) การทดลอง
                    2. เอกสารประกอบออนไลน์
                    3. การสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
                    4. กิจกรรมออนไลน์
                    5. การประเมินผลการเรียน
                    6. การทดสอบความเขาใจ เช่น แบบเลือกตอบ แบบจบกลม แบบประเมินตนเอง

คุณสมบัติสำคัญสำหรับของ MOOCs
               เป็นระบบเปิดหรือเรียนได้แบบเสรี โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเป็นนักเรียนหรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
               รองรับผู้เรียนได้อย่างกว้างไกลและรับจำนวนผู้เรียนมากได้ ซึ่งมีความแตกต่างกับการเรียนแบบเดิมๆ ที่รองรับผู้เรียนได้จำนวนน้อยเพราะต้องใช้ครูสอน ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดเรื่องอัตราส่วนของครูกับคนเรียน ซึ่ง MOOCs ไม่มีข้อจำกัดนั้น เพราะสามารถรองรับผู้เรียนได้แบบมหาศาล
              หรือคุณสมบัติอื่นๆ เช่น เนื้อหาที่นำมาให้เรียนเป็นเนื้อหาแบบเปิด (open licensing of content) เป็นต้น

แนวคิดที่เป็นแก่นของ MOOC เรียกว่า “หัวใจของ MOOC”
            1. การเข้าถึง (Accessibility) : การเรียนผ่าน MOOC นั้นส่วนใหญ่จะไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้จัดทำ (มหาวิทยาลัยต่างๆ)และผู้ให้ทุนสนับสนุนเริ่มต้นด้วยแนวคิด “เราเป็นคนใจดี” (CSR) ไม่มีค่าใช้จ่าย (หรืออาจมีค่าใช้จ่ายถ้าแลกกับปริญญาบัตรจริง) ทำให้ใครก็ตามที่มีอินเตอร์เน็ตก็สามารถเรียนได้ แต่ก็ต้องฟังภาษาที่เค้าสอนรู้เรื่องด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นภาษาอังกฤษ
             2. การปฏิสัมพันธ์ (Interaction) : การเรียนผ่าน MOOC นั้นผู้เรียนไม่ได้เพียงนั่งฟังอย่างเดียว ระหว่างดูวิดีโอไปจะมีคำถามแทรกอยู่ตลอด ทำให้ผู้เรียนต้องตั้งใจเรียนตลอดเวลา นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถตั้งคำถามโดยให้เพื่อนนักเรียนที่มีอยู่ทั่วโลกมาช่วยกันมาตอบได้ และสามารถปรึกษากับผู้ส่วนหรือผู้ช่วยสอนได้ตลอด ซึ่งสิ่งนี้เป็นการสร้างบรรยายการเรียนแบบ one-on-one (มีคนช่วยสอนแบบตัวต่อตัว) ให้เกิดเป็นจริงในโลกออนไลน์ได้แม้จะมีนักเรียนเป็นจำนวนมากก็ตาม
             3. เสรีภาพ (Freedom) : ผู้เรียนจะเป็นใครอยู่ที่ไหน อายุเท่าไหร่ และมีพื้นฐานอะไรไม่สำคัญมีสิทธิเข้าเรียนได้เหมือนกันหมด โดยสามารถเลือกวิชาที่อยากเรียนได้ตามใจชอบ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวบังคับ (นอกจากจะเรียนเอาเกียรติบัตรและปริญญา) และเรียนตามความเร็วและเวลาที่ตัวเองสะดวก ในกรณีที่เป็นการเรียนแบบตามอัธยาศัย (self-pace) แต่ถ้าเป็นการเรียนแบบมีกำหนดเวลาก็ต้องทำตามเวลาที่เค้ากำหนด (สุริยา เผือกพันธ์ 2013)

ตัวอย่าง COURSERA (Coursera.org) ที่เป็น (MOOCs)
ความเป็นมา
               เป็น MOOC ที่แสวงหากำไร ก่อตั้งโดย Andrew Ng และ Daphne Koller โปรเฟสเซอร์ด้าน Computer Science จากมหาวิทยาลัย Stanford โดยร่วมกับ 62 มหาวิทยาลัยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งมหาลัยชื่อดังอย่างเช่น Duke, California Institute of Technology, University of Illinois at Urbana-Champaign เป็นต้น ที่น่าสนใจก็คือตอนนี้มีมหาวิทยาลัยหลายประเทศทั่วโลกเข้าร่วมทั้งจากเอเชีย ยุโรป และอาหรับ ดังนั้นการเรียนจึงมีให้เลือกหลายภาษา ได้เงินทุนสนับสนุนจากเวนเจอร์แคปิตอลมาถึง 22 ล้านเหรียญสหรัฐในปีแรก โดยทดลองรูปแบบธุรกิจในการให้บริการบุคคลากรซึ่งเป็นนักเรียนของตนเองกับบริษัทต่างๆ
หลักสูตร : หลายร้อยวิชาจากเกือบร้อยมหาวิทยาลัยทั่วโลก มีวิชาหลากหลาย ตั้งแต่ computer science, math, business, humanities, social science, medicine, engineering, education
การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้าน ข้อสอบประเภทปรนัย ส่วนอัตนัยจะใช้เพื่อน 5 คนช่วยกันตรวจ
ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ผ่านทางกลุ่มออนไลน์ฟอรัม และสามารถนัดพบกันได้ทาง meetup ซึ่งมีกลุ่นนักเรียนจัดนัดพบกันตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก
เวลาในการเรียน : บทเรียนส่วนมากมีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดชัดเจน โดยสามารถย้อนกลับไปดูวีดิโอย้อนหลังได้ตลอด
สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : เกียรติบัตรซึ่งมีลายเซ็นของอาจารย์คนสอนแต่ไม่ใช่จากมหาวิทยาลัย และเริ่มมีบางวิชาสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ทั่วสหรัฐอเมริกา



edX (edx.org)


ความเป็นมา
             เป็น MOOC ที่ไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT โดยทั้งสองสถาบันได้ลงเงินทุนสนับสนุนให้ถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐ ตอนนี้วิชาเรียนยังมาจาก Hardvard, MIT, และ UC Berkeley เป็นหลัก แต่ตอนนี้มีวิชาเรียนจากอีก 9 มหาวิทยาลัยเข้ามาร่วม และที่น่าสนใจคือกำลังจะมีมหาวิทยาลัยจากทางเอเชียหลายแห่ง เช่น ปักกิ่ง, โซล, ฮ่องกง, เกียวโต และบอมเบย์ เข้าร่วม
หลักสูตร : 68 กว่าวิชา จาก 12 มหาวิทยาลัย
การประเมินผล : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจการบ้านและ ข้อสอบทั้งหมด โดยการสอบบางวิชาจะต้องไปสอบที่ศูนย์สอบ
ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน : ยังมีน้อยเพราะเพิ่งเปิดได้ไม่นาน ที่ผ่านมามีแค่วิชาเดียวที่มีการนัดพบกันในระดับภูมิภาค
เวลาในการเรียน : ส่วนมากจะมีวันเริ่มและวันสิ้นสุดที่แน่นอน และสามารถลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มสอน
สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ : ได้รับเกียรติบัตร 2 ใบ ใบแรกรับรองว่าเรียนจบ อีกใบหนึ่งรับรองว่าสอบผ่าน โดยทั้งสองใบมีตราของ edX และตราของมหาวิทยาลัยต่อท้ายด้วย “X” เช่น HardvardX, MITX เป็นต้น

วีดีโอตัวอย่าง Massive Open Online Course (MOOCs)


แหล่งที่มา : http://www.thailibrary.in.th/2014/04/01/moo